ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Micraspis vincta (Coleoptera: Coccinellidae)
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ด้วงเต่าตัวห้ำ C. politus เป็นด้วงเต่า ขนาดกลาง (กว้างxยาว 4.9-5.1 x 5.8-5.9 มิลลิเมตร) ตลอดอายุขัย ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 89-149 ฟองต่อตัว ระยะตัวอ่อนใช้เวลา 8-13 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุขัยอยู่ระหว่าง 20-22 วัน ระยะที่มีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำ ได้แก่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
C. politus เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งมีแหล่งแพร่กระจายในประเทศทางตะวันออก เช่น ภูฐาน เนปาน ไทย และอินโดนีเชีย เพลี้ยหอยเป็นหลัก ในประเทศไทยพบว่ากินเพลี้ยหอยกาแฟ Coccus viridis
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยหอยศัตรูกาแฟ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ศมาพร แสงยศ. 2558. ความหลากหลายทางชนิด และ การใช้ประโยชน์เพลี้ยไฟตัวห้ำเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. รายงานวิจัย. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช). 117 หน้า.
Lewis, T. 1973. Thrips their biology, ecology and economic importance. Academic Press, London. 349 pp.